วันอังคารที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2558

สู้เพื่อแม่...

กรองวจีเรียงถ้อยร้อยความรัก
บรรจงถักคำหวานผ่านอักษร
แทน"มาลามะลิ"สวย...ด้วยบทกลอน
กราบ "มารดร" ด้วยรักมั่น "กตัญญุตา"
หากค้นหาความรักจากทุกภพ
หลอมบรรจบเป็นรักที่มากค่า
"รักของแม่" แม้ล้านคำพร่ำพรรณนา
มิอาจหาเปรยเปรียบเทียบทดแทน
ลูกกี่คน... "แม่" เลี้ยง-รัก...ไม่พัก-ผ่อน
ถึงเดือดร้อน...เหนื่อยยากลำบากแสน
ให้ลูกอิ่ม...แม้อัตคัดจนขาดแคลน
จะแร้นแค้น...ซูบเพียงกาย...รักไม่จาง
ชีวิตลูกที่ดำเนินเดินถูกต้อง
เพราะแม่ประคับประคองไม่เหินห่าง
ยามลูกเดินหลงทิศ...ผิดเส้นทาง
แม่คือเทียนส่องสว่าง...กลางดวงใจ
แม่จ๋า...แม่พร่ำสอน...คือพรประเสริฐ
เป็น "พร" เลิศผ่องพิสุทธิ์ดุจแก้วใส
ด้วยไม่มีเคลือบแคลงแฝงเภทภัย
ลูกจดจำ...รำลึกไว้...ใช้เตือนตน
กรองวจีเรียงถ้อยร้อยความรัก
บรรจงถักเป็น"สร้อยคำ"...ที่งามล้น
สื่ออักษรกลอน "รัก" จากกมล
บูชา "แม่"..."หญิงยอดคน"...หนึ่งในใจ
เศรษฐกิจพอเพียง

     เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระราชดำรัสแก่ชาวไทยนับตั้งแต่ พ.ศ. 2517 เป็นต้นมา และถูกพูดถึงอย่างชัดเจนในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2540 เพื่อเป็นแนวทางการแก้ไขวิกฤตการณ์ทางการเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540 ให้สามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนในกระแสโลกาภิวัตน์ อ่านเพิ่มเติม
ค่านิยม 12 ประการ
ค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ ตามนโยบายของ คสช.
1. มีความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2. ซื่อสัตย์ เสียสละ อดทน มีอุดมการณ์ในสิ่งที่ดีงามเพื่อส่วนรวม
3. กตัญญูต่อพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูบาอาจารย์
4. ใฝ่หาความรู้ หมั่นศึกษาเล่าเรียนทั้งทางตรง และทางอ้อม
5. รักษาวัฒนธรรมประเพณีไทยอันงดงาม
6. มีศีลธรรม รักษาความสัตย์ หวังดีต่อผู้อื่น เผื่อแผ่และแบ่งปัน
7. เข้าใจเรียนรู้การเป็นประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่ถูกต้อง
8. มีระเบียบวินัย เคารพกฎหมาย ผู้น้อยรู้จักการเคารพผู้ใหญ่
9. มีสติรู้ตัว รู้คิด รู้ทำ รู้ปฏิบัติตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
10. รู้จักดำรงตนอยู่โดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามพระราชดำรัสของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รู้จักอดออมไว้ใช้เมื่อยามจำเป็น มีไว้พอกินพอใช้ ถ้าเหลือก็แจกจ่ายจำหน่าย และพร้อมที่จะขยายกิจการเมื่อมีความพร้อม เมื่อมีภูมิคุ้มกันที่ดี
11. มีความเข้มแข็งทั้งร่างกาย และจิตใจ ไม่ยอมแพ้ต่ออ านาจฝ่ายต่ า หรือกิเลส มีความละอายเกรงกลัวต่อบาปตามหลักของศาสนา
12. คำนึงถึงผลประโยชน์ของส่วนรวม และของชาติมากกว่าผลประโยชน์ของตนเอง